แนะนำ

| | 0 ความคิดเห็น








แนะนำ

| | 0 ความคิดเห็น


สร้างกริตเตอร์
ฟังเพลง ดารา เกมส์

ชื่อ น.ส.อนุสรา อุ่นคำ ชื่อเล่น แอ๋ว วันเกิด 15/03/2531 Email. phe50011410093@gmail.com ที่อยู่ 63 ม.20 ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150






E-Commerce นิยามและความหมาย

| | 0 ความคิดเห็น



E-Commerce นิยามและความหมาย
Source - Department of Industrial Promotion (Th/Eng)
Wednesday, March 12, 2003 11:29
28176 XTHAI XECON XGOV XITBUS XLOCAL V%GOVL P%DIP

ปัจจุบันคงจะไม่มีใครบอกว่าไม่เคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ E-Commerce มาเลยบางท่านที่เคยได้ยินแต่ไม่ได้สนใจถือว่าเป็นเรื่องไกลตัว อันที่จริง ท่านผู้รู้ได้กล่าวว่า ในอนาคต E-Commerce จะเข้ามาพลิกโฉมทางการค้าและเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของเรา และห้างสรรพสินค้าอาจจะไม่มีความจำเป็นแล้วเพราะต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง แต่จะหันมาใช้ห้างสรรพสินค้า E-Commerce ซึ่งกำลังเป็นที่ตื่นตัวกันอย่างมากในอเมริกา ดังนั้น เมื่อ E-Commerce มีบทบาทมากขนาดนี้ เราจะมองข้ามเสียไม่ได้
ความหมายของ E-Commerce
E-Commerce ย่อมาจาก Electronic Commerce หรือที่เรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การประกอบธุรกิจการค้าผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ หรือ คอมพิวเตอร์
ซึ่งเป็นช่องทางที่มีความสำคัญที่สุดในปัจจุบัน โดยมีระบบอินเตอร์เน็ตเป็นสือกลางในการเชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขายให้สามารถทำการค้ากันได้
ประเภท และรูปแบบ
E-Commerce สามารถแบ่งได้หลายลักษณะ ที่รู้จักกันทั่วไป มี 3 ประเภท คือ
B - To - C ย่อมาจาก Business to Business เป็นการซื้อขายสินค้าระหว่างธุรกิจด้วยกันเอง เช่น ผู้ผลิตขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลางเป็นธุรกิจนำเข้า - ส่งออก ชำระเงินผ่านระบบธนาคารด้วยการเปิด L/C
B - To -C ย่อมาจาก Business to Consumer เป็นการขายปลีกให้กับผู้บริโภค ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ส่วนใดของโลกชำระเงินผ่านระบบบัตรเครดิต การขายแบบนี้จะเข้ามาแทนที่การขายแบบ Direct Mail
C - To - C ย่อมาจาก Consumer to Consumer เป็นการขายปลีกระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือผู้ใช้อินเตอร์เน็ตด้วยกัน เช่น การขายซอฟต์แวร์ที่ตนพัฒนาขึ้นมา หรือการประมูลของที่ใช้แล้ว
ประโยชน์จาก E-Commerce
สินค้าที่ต้องการจำหน่ายผ่านทางอินเตอร์เน็ตจะเป็นสินค้าที่รู้จักของผู้ซื้ออยู่แล้ว หรือสินค้าขายปลีกทั่วๆ ไป ที่ลูกค้าเลือกซื้อได้จากทุกมุมโลก เพียงแต่คลิกเม้าท์เท่านั้น เช่น ผู้จำหน่ายหนังสือ ของเล่นอุปกรณ์ไฟฟ้า สินค้าที่สะดวกในการขนส่ง เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์ สินค้าส่งออกที่มีจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศอยู่แล้ว สินค้าที่มีเอกลักษณ์ของไทย เช่นผ้าไหม สินค้าหัตถกรรมเซรามิค เครื่องประดับ ซึ่งใช้ E-Commerce จะประหยัดกว่าการทำธุรกิจแบบเดิม ที่ต้องส่งแคตาล๊อกไปให้ลูกค้าหรือไปเช่าบู๊ทในงานแสดงสินค้าในประเทศต่างค่าใช้จ่ายสูงมาก ถ้าสร้างเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต ทำเป็นบูทถาวรที่ลูกค้าเข้าชมได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือสินค้าที่สามารถส่งมอบทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ เช่น เพลง วิดีโอเกม ซีดีรอม เมื่อลูกค้าชำระเงินเรียบร้อยก็กาวน์โหลดสินค้าเหล่านั้นเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ของตัวเองที่เชื่อมต่อกันกับอินเตอร์เน็ตหรือธุรกิจที่มีบริการขนส่งสินค้าของตนเองอยู่แล้ว เช่น ร้านเบ

ที่มา http://www.google.co.th/search?hl=th&rlz=1R2ADFA_enTH353&q=e-commerce

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ อะไร

| | 0 ความคิดเห็น






พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ อะไร
(What is e-Commerce?)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ECRC Thailand,1999)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และครอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร, แคตตาล็อคอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,1998)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวล และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การค้าขายผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตจะเปลี่ยนวิถีทางการดำรงชีวิตของทุกคน อินเทอร์เน็ต จะเปลี่ยนวิธีการศึกษาหาความรู้ อินเทอร์เน็ตจะเปลี่ยนวิธีการทำมาค้าขาย อินเทอร์เน็ตจะเปลี่ยนวิธีการหาความสุขสนุกสนาน อินเทอร์เน็ตจะเปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่าง และทุกสิ่งทุกอย่างจะรวมกันเข้ามาหาอินเทอร์เน็ต
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้า และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์, การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์, การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์, การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ, การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค, อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล, บริการด้านการเงิน, บริการด้าน กฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข, การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall) (European union,1997)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้





ที่มา
http://www.thaiall.com/article/ecommerce.htm

E-Commerce ราคาถูก

| | 0 ความคิดเห็น






Shopping Cart, ร้านค้าสำเร็จรูป, ร้านค้าออนไลน์, E-Commerce ราคาถูก
คุณสมบัติเด่น ของ ร้านค้าสำเร็จรูป ร้านค้าออนไลน์ ราคาถูก ใช้งานง่าย มีระบบ shopping cart และีระบบวิจารณ์สินค้า เพื่อช่วยในการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของลูกค้า และร้านค้าสำเร็จรูปของเรายังมีระบบบริหารจัดการ ผู้ดูแลระบบ และลูกเล่นอื่นๆ อีกมากมาย

ร้านค้าสำเร็จรูป (ร้านค้าออนไลน์) คืออะไร เป็น E-commerce ที่มีระบบ shopping cart และมีรูปแบบเว็บไซต์ (Template) ซีงออกแบบมาอย่างสวยงาม พร้อมใช้งาน ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการทำเว็บไซต์เลย เพราะการทำเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ง่ายนิดเดียว แถมราคาถูก และใช้งานได้ง่ายอีกด้วย

ร้านค้าออนไลน์ (E-commerce) เหมาะกับใคร ผู้ที่สนใจอยากเปิดร้านค้าออนไลน์ มีกิจการร้านค้าเป็นของตัวเอง ร้านค้าสำเร็จรูป เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ และเป็นที่นิยมในยุคปัจจุบัน ซึ่งมีราคาถูก หากสนใจขายสินค้าออนไลน์ ก็ทำได้ง่ายๆ เพราะร้านค้าสำเร็จรูปของเราใช้งานง่าย เพียงแค่ติดต่อเรา ใช้ง่าย

จุดเด่น ร้านค้าสำเร็จรูป ร้านค้าออนไลน์ ระบบ Shopping Cart

ร้านค้าออนไลน์ของเรา ใช้งานง่าย และยังมีราคาถูกอีกด้วย

ร้านค้าออนไลน์ ของเรามีทีมงานที่คอยดูแล ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการสร้างร้านค้าออนไลน์ Shopping Cart คุณตลอด 24 ชั่วโมง

ร้านค้าออนไลน์ ของเรามีทีมการตลาดที่ช่วยโปรโมทเว็บไซด์ ร้านค้าออนไลน์และสินค้าของคุณให้เว็บขายสินค้าออนไลน์ของคุณเป็นที่รู้จัก

ร้านค้าออนไลน์ ของเรามีการปรับปรุงและพัฒนาระบบอยู่เสมอ ทำให้การใช้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งๆขึ้น

ร้านค้าออนไลน์ ของเราได้รับความไว้วางใจจากองค์กรชั้นนำ และบริษัทเอกชนมากมายหลายแห่ง

ร้านค้าออนไลน์ของเราพัฒนาซอฟแวร์ขึ้นเอง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและรองรับความต้องการใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ด้วยระบบ Anti Virus ที่มีประสิทธิภาพถึง 99% ช่วยในการ กรอง Spam และ Virus ที่เข้ามาในระบบของท่าน

ด้วยระบบการจัดการหลังร้านค้าออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้ลูกค้าของเราได้ใช้งาน บริหารจัดการสินค้าออนไลน์ เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด



http://www.chaiyoreadyweb.com/ready-market.php?gclid=CIO0kO7Cy58CFQ0upAodVGjWzwที่มา

วันครู

| | 1 ความคิดเห็น

"วันครู" 16 มค.




ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ความสำคัญของครู
ในชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี

ครูจึงนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นวันที่ 6 ตุลาคม จึงได้เป็นวันครูสากล เพื่อคนที่เป็นครูทั่วโลกที่เสียสละนำพาเราทุก ๆคน ไปถึงฝั่งฝันนั่นเอง










ความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้


คาถา ปาเจราจริยา โหนฺติ คุณุตฺตรานุสาสกา (วสันตดิลกฉันท์)
(สวดนำ) ปาเจราจริยา โหนติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา
ปญญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ

ข้าขอประณตน้อมสักการ บุรพคณาจารย์ ผู้ก่อประโยชน์ศึกษา ใทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา
แก่ข้าในกาลปัจจุบัน ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์ ด้วยใจนิยมบูชา ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยพา
ปัญญาให้เกิดแตกฉาน ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน อยู่ในศีลธรรมอันดี ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี แก่ชาติและประเทศไทย เทอญ ฯ





กิจกรรมวันครู
1. ร่วมกิจกรรมทางศาสนา ทำบุญใส่บาตรพระสงฆ์ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แกบรรดาบูรพาจารย์ผู้ล่วงลับ

2. ส่งบัตรอวยพร หรือไปเยี่ยมเยือนครูอาจารย์ที่เคยให้ความรู้อบรมสั่งสอน เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดี และแสดงความกตัญญูกตเวที

3. ร่วมพิธีบูชาบูรพาจารย์

4. ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น เช่น นิทรรศการเกี่ยวกับครู การเรียนการสอน หรือกิจกรรมการกุศลที่หารายได้สมทบกองทุนช่วยเหลือครู เป็นต้น


สวัสดีปีใหม่ไทย

| | 0 ความคิดเห็น


สวัสดีปีใหม่





เพลงวันปีใหม่
(เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์ ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้ ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ

ประเพณีวันขึ้นปีใหม่

แต่เดิมนั้น เราถือเอาวันแรม ๑ ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงเหมันต์หรือหน้าหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ คือถือเอาวันขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๕ เป็นวันขึ้นปีใหม่
ครั้งภายหลัง เมื่อทางราชการนิยมใช้วันทางสุริยคติ จึงได้ถือเอาวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันปีใหม่ มาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๓๒ และเมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ทางราชการก็ได้มีการประกาศเปลี่ยนแปลง ให้เอาวันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับบรรดาอารยะประเทศ






บางทีอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า แต่ก่อนเราถือวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยด้วย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ วันสงกรานต์นั้นจะตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๕ ของทุกปี จนในปีพ.ศ. ๒๔๓๒ วันสงกรานต์นี้ตรงกับวันที่ ๑ เมษายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จึงประกาศให้ใช้วันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ และได้ใช้เรื่อยมา สาเหตุก็เพราะสอดคล้องกับธรรมเนียมโบราณ คือในปีนั้น ตรงกันทั้งวันสงกรานต์และวันขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๕



ได้มีการใช้วันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยแต่นั้นเรื่อยมา แม้ว่าในปีต่อไปจะไม่ตรงกับวันสงกรานต์ ทั้งนี้เพื่อให้มีกำหนดวันทางสุริยคติที่แน่นอนตายตัวลงไป

จันทรคติ คือ การนับวันเดือนปี โดยใช้การโคจรของพระจันทร์เป็นเกณฑ์ คือ นับขึ้นแรม นับเดือนอ้าย ยี่ สาม สี่ ฯลฯ นับปีชวด ฉลู ขาล เถาะ ฯลฯ เรียกว่า การนับทางจันทรคติ

สุริยคติ คือ การนับวันเดือนปี โดยใช้การโคจรของพระอาทิตย์เป็นเกณฑ์ คือวิธีการนับอย่างในปัจจุบัน เช่น วันจันทร์ อังคาร พุธ เดือน มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม และปี พ.ศ. ปี ค.ศ. ต่างๆ ฯลฯ

ต่อมาในวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ คณะรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ ประกาศให้ใช้วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับประเทศอื่นๆ เป็นสากลทั่วโลก และใช้เรื่อยมาถึงปัจจุบัน



การทำบุญวันขึ้นปีใหม่

เมื่อใกล้ถึงเทศกาลปีใหม่ ประชาชนจะพากันเก็บกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับไฟและธงชาติตามสถานที่สำคัญๆ ครั้นถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ก็จะมีการทำบุญเลี้ยงพระ ไปวัดเพื่อประกอบกิจกุศลต่างๆ เช่น ฟังพระธรรมเทศนา ถือศีลปฎิบัติธรรม แต่บางคนก็แค่ทำบุญตักบาตร ตอนกลางคืนบางแห่งอาจจัดเทศกาลกินเลี้ยงเป็นที่ครื้นเครงสนุกสนาน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ่ เช้าวันที่ ๑ มกราคม จะมีการทำบุญตักบาตร ไปท่องเที่ยวหรือเยี่ยมเยือนญาติผู้ใหญ่ผู้ที่เคารพนับถือ มีการมอบของขวัญและบัตรอวยพรให้แก่กัน

สำหรับในต่างจังหวัด จะมีการทำบุญเลี้ยงพระที่วัด และอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ญาติที่ล่วงลับ กลางคืนมีการละเล่นพื้นบ้าน หรือจัดมหรสพมาฉลอง




คติข้อคิดในวันปีใหม่

เมื่อวันเวลาผันเปลี่ยนเวียนไปครบ ๑ ปี เราได้อยู่รอดปลอดภัยมาจนถึงวันขึ้นปีใหม่ ขอให้ลองมองย้อนหลังกลับไปคิดดูว่า วันเวลาที่ผ่านมานั้นเราได้ใช้มันอย่างคุ้มค่าหรือเปล่า และได้กระทำคุณงามความดีอันใดไว้บ้าง ควรหาโอกาสกระทำให้ยิ่งขึ้นทุกปี ในขณะเดียวกันเราได้กระทำความผิดหรือสิ่งใดที่ไม่ถูกต้องไว้หรือไม่ หากมีต้องรีบปรับปรุงแก้ไขตัวเอง


ที่มา http://www.baanmaha.com/web/hothit/62-happynewyear/

ศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ

| | 0 ความคิดเห็น




ภาคเหนือประกอบด้วย 17 จังหวัดได้แก่

1.เชียงราย 2.เชียงใหม่ 3.น่าน 4.พะเยา 5.แพร่ 6.แม่ฮ่องสอน 7.ลำปาง 8.ลำพูน 9.อุตรดิตถ์ 10.ตาก
11.พิษณุโลก 12.สุโขทัย 13.เพชรบูรณ์ 14.พิจิตร 15.กำแพงเพชร 16.นครสวรรค์ 17.อุทัยธานี





ลักษณะการแต่งกายของคนภาคเหนือการแต่งกาย

เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของคนแต่ละพื้นถิ่น สำหรับในเขตภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีต ปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้นเมืองได้รับความสนใจมากขึ้น แต่เนื่องจากในท้องถิ่นนี้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เช่น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ และอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ ทำให้การแต่งกายแบบพื้นเมืองมีความสับสนเกิดขึ้น ดังนั้นคณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จึงได้ระบุข้อไม่ควรกระทำในการแต่งกายชุดพื้นเมือง ของ “แม่ญิงล้านนา” เอาไว้ว่า
1.ไม่ควรใช้ผ้าโพกศีรษะ ในกรณีที่ไม่ใช่ชุดแบบไทลื้อ
2. ไม่ควรเสียบดอกไม้ไหวจนเต็มศีรษะ
3. ไม่ควรใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาว หรือคาดเข็มขัดทับ และผ้าพาดที่ประยุกต์มาจาก ผ้าตีนซิ่นและผ้า “ตุง”






อาหารภาคเหนือ ส่วนใหญ่รสชาติไม่จัด ไม่นิยมใส่น้ำตาลในอาหาร
ความหวานจะได้จากส่วนผสมของอาหารนั้นๆ เช่น ผัก ปลา และนิยมใช้
ถั่วเน่าในการปรุงอาหาร

คนเหนือมีน้ำพริกรับประทานหลายชนิด อาทิ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง
ผักที่ใช้จิ้มส่วนมากเป็นผักนึ่ง



ส่วนอาหารที่รู้จักกันดีได้แก่ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ที่มีเครื่องปรุงสำคัญ
ขาดไม่ได้คือ ดอกงิ้ว ซึ่งเป็นดอกนุ่มที่ตากแห้ง ถือเป็นเครื่องเทศพื้นบ้าน
ที่มีกลิ่นหอม หรืออย่างตำขนุน แกงขนุน ที่มีส่วนผสมเป็นผักชนิดอื่น เช่น
ใบชะพลู ชะอม และมะเขือส้ม







เครื่องดนตรี
สะล้อหรือ ทะล้อ
เป็นเครื่องสายบรรเลง ด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็น แหล่งกำเนิดเสียงทำ ด้วยกะลามะพร้าว


ซึง
เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง ใช้บรรเลงด้วยการดีด ทำ ด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง

ขลุ่ย
เช่นเดียวกับขลุ่ยของภาคกลาง


ปี่
เป็นปี่ลิ้นเดียว ที่ตัวลิ้นทำด้วย โลหะเหมือนลิ้นแคน ตัวปี่ทำด้วยไม้ซาง

ปี่แน
มีลักษณะคลายปี่ไฉน หรือปี่ชวา แต่มี ขนาดใหญ่กว่า เป็นปี่ประเภท ลิ้นคู่ทำด้วยไม้ พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ หรือบางทีก็เรียกว่า เพียะ หรือเปี๊ยะ กะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว

กลองเต่งถิ้ง
เป็นกลองสองหน้า ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง หรือไม้ เนื้ออ่อน


ตะหลดปด หรือมะหลดปด
เป็นกลองสองหน้า ขนาดยาวประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร

กลองตึ่งโนง
เป็นกลอง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวกลองจะยาว มากขนาด ๓-๔ เมตร


กลองสะบัดชัยโบราณ
เป็นกลองที่ มีมานานแล้ว นับหลายศตวรรษ


ศิลปวัฒนธรรมภาคใต้

| | 1 ความคิดเห็น




ภาคใต้มีด้วยกัน 14 จังหวัด ดังนี้
1.ชุมพร 2.กระบี่ 3.นครศรีธรรมราช 4.นราธิวาส 5.ปัตตานี 6.พังงา 7.พัทลุง 8.ภูเก็ต 9.ระนอง 10.สตูล สงขลา 12.สุราษฎร์ธานี 13.ตรัง 14.ยะลา



การแต่งกายนั้นแตกต่างกันในการใช้วัสดุ และรูปแบบโดยมีเอกลักษณ์ไปตามเชื้อชาติ ของผู้คนอันหลากหลายที่เข้ามาอยู่อาศัยในดินแดนอันเก่าแก่แห่งนี้พอจำแนกเป็น






กลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้
ี้
1. กลุ่มเชื้อสายจีน – มาลายู เรียกชนกลุ่มนี้ว่ายะหยา หรือ ยอนย่า เป็นกลุ่มชาวจีน เชื้อสายฮกเกี๊ยนที่มาสมรสกับชนพื้นเมืองเชื้อสายมาลายู ชาวยะหยาจึงมีการแต่งกายอันสวยงาม ที่ผสมผสาน รูปแบบของชาวจีนและมาลายูเข้าด้วยกันอย่างงดงาม ฝ่ายหญิงใส่เสื้อฉลุลายดอกไม้ รอบคอ,เอว และปลายแขนอย่างงดงาม นิยมนุ่งผ้าซิ่นปาเต๊ะ ฝ่ายชายยังคงแต่งกาย คล้ายรูปแบบจีนดั้งเดิมอยู่

2. กลุ่มชาวไทยมุสลิม ชนดั้งเดิม ของดินแดนนี้นับถือศาสนาอิสลาม และมี เชื้อสายมาลายู ยังคงแต่งกายตามประเพณี อันเก่าแก่ฝ่ายหญิงมีผ้าคลุมศีรษะ ใส่เสื้อผ้ามัสลิน หรือลูกไม้ตัวยาวแบบมลายูนุ่งซิ่นปาเต๊ะ หรือ ซิ่นทอแบบมาลายู ฝ่ายชายใส่เสื้อคอตั้ง สวมกางเกงขายาว และมีผ้าโสร่งผืนสั้น ที่เรียกว่า ผ้าซองเก็ต พันรอบเอวถ้าอยู่ บ้านหรือลำลองจะใส่โสร่ง ลายตารางทอด้วยฝ้าย และสวมหมวกถักหรือ เย็บด้วยผ้ากำมะหยี่

3. กลุ่มชาวไทยพุทธ ชนพื้นบ้าน แต่งกายคล้ายชาวไทยภาคกลาง ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งโจงกระเบน หรือ ผ้าซิ่นด้วย ผ้ายกอันสวยงาม ใส่เสื้อสีอ่อนคอกลม แขนสามส่วน ส่วนฝ่ายชายนุ่งกางเกงชาวเล หรือ โจงกระเบนเช่นกัน สวมเสื้อผ้าฝ้ายและ มีผ้าขาวม้าผูกเอว หรือพาดบ่าเวลาออกนอกบ้านหรือไปงานพิธี







อาชีพในภาคใต้มีค่อนข้างหลากหลายไปในแต่ละจังหวัด แต่ที่สำคัญได้แก่ การทำสวน มีสวนยางพารา เป็พืชสำคัญที่สุด รองลงไปเป็นสวนมะพร้าว สวนผลไม้ ซึ่งได้แก่เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง สวนปาล์น้ำมัน ไร่กาแฟ ส่วนการทำนาจะมีมากทางด้านชายฝั่งตะวันออกในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และบางส่วนของจังหวัดสงขลา นอกเหนือไปจาก การเกษตรกรรมทางภาคใต้มีการทำเหมืองแร่ กันในหลายจังหวัด ส่วนใหญ่เป็นการขุดแร่ดีบุก การประมงมีการทำกันตลอดชายฝั่งทะเล และมีท่าเรือประมงที่ไป จับปลาห่างจากชายฝั่ง


ภาษาใต้

ภาษาถิ่นใต้ หรือ ภาษาใต้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษาปักษ์ใต้ ได้แก่ ภาษาที่พูดกันในภาคใต้ของประเทศไทย เช่น นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สุราษฏร์ธานี เป็นต้น

ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก
ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก
ภาษาถิ่นใต้สำเนียงสงขลา





อาหารส่วนใหญ่ของคนภาคใต้ มักเกี่ยวข้องกับปลา และสิ่งอื่น ๆ จากท้องทะเล อาหารทะเลหรือปลา
โดยธรรมชาติจะมีกลิ่นคาวจัด อาหารภาคใต้จึงไม่พ้นเครื่องเทศ โดยเฉพาะขมิ้นดูจะเป็นสิ่งที่แทบจะขาด
ไม่ได้เลย เพราะช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีนัก ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้จะมีสีออกเหลือง ๆ แทบ
ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก่ทอด ก็มีขมิ้นกันทั้งสิ้น






เครื่องดนตรี
ทับ
เป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญ ในการให้จังหวะ ควบคุม การเปลี่ยนแปลงจังหวะ

กลองโนรา
ใช้ประกอบการแสดง โนราหรือหนัง ตะลุง โดยทั่วไปมี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหน้า

โหม่ง
เป็นเครื่องดนตรี ที่มีส่วนสำคัญ ในการขับ บท ทั้งในด้านการให้เสียง

ปี่
เครื่องดนตรีชนิดนี้มีความสำคัญใน การเสริมเสียงสะกดใจผู้ชม

แตระพวงหรือกรับพวง
เป็นเครื่องประกอบจังหวะทำจากไม้เนื้อแข็ง


ที่มา
http://sunsite.au.ac.th/ThaiInfo/TourismInThailand/Thailand76/South/index.html

ปฏิทิน

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้